เป้าหมาย (Understanding Goal) : นักเรียนเข้าใจ และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง พร้อมทั้งประกอบอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเพื่อรับประทานเองได้

week2


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถแสดงความเข้าใจในการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้แล้ว และสิ่งอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลตามความเข้าใจของตนเองได้
Week2
Input
Process
Output
Outcome

โจทย์ :
- เลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว
- สิ่งที่อยากเรียนรู้
Key  Questions :
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร?
- ทำไมถึงอยากเรียนรู้เรื่องนี้?
- นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้
?
- นักเรียนจะตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ที่อยากเรียนรู้อย่างไร
?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
-
Blackboard Share ตั้งชื่อหน่วย
-
Show and Share ชิ้นงานทั้งหมดในสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- พืชผักภายในโรงเรียน
- บริเวณภายในโรงเรียน
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจบริเวณภายในโรงเรียนเพื่อสำรวจพืชผัก และสัตว์ที่สามารถนำมาทำอาหารได้
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "พืชผัก และสัตว์ต่างๆเหล่านี้นำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง"
- ครู และนักเรียนเลือกเก็บผักที่สามารถกินได้
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับพืชผักแต่ละอย่างที่เลือกเก็บมา เก็บมาจากที่ไหน/มีกลิ่นอย่างไร/รสชาติเป็นอย่างไร
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ผักเหล่านี้ถ้าจะนำไปทำเป็นอาหาร
1 อย่าง จะทำอาหารอะไรได้บ้าง”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักทั้งหมดไปทำอาหาร
1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง
ใช้
- นักเรียนวาดภาพพืชผักที่ได้ลองดมกลิ่น และชิมรสชาติ พร้อมเขียนชื่อลงในสมุด
- นักเรียนกลับไปสอบถามคุณแม่หรือผู้ปกครองที่บ้านว่าผักทั้งหมดสามารถนำมาทำอาหาร
1 อย่างแล้วจะทำอะไรได้บ้าง
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร 1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักทั้งหมดไปทำอาหาร 1 อย่างร่วมกัน เพื่อจะทำอาหาร โดยแบ่งอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมาในวันพุธ
ใช้
นักเรียนเขียนอุปกรณ์ที่ต้องรับผิดชอบนำมาในวันพุธลงในสมุดของตนเอง เพื่อเตรียมเป็นการบ้าน
วันพุธ 1 ชั่งโมง
ชง
ครูและนักเรียนร่วมกันทำอาหารจากผักที่มีอยู่และ วัตถุดิบที่เตรียมมาเพิ่มเติมเป็น 4 กลุ่มๆละ 5 คน
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอาหารที่ทำขึ้นทั้ง 4 กลุ่ม กลิ่น รสชาติ และส่วนผสม
ใช้ นักเรียนเขียนสรุปอาหารที่ทำเป็นกลุ่ม แล้วนำเสนอ
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโม
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้น “นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร/เพราะเหตุใด”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ พร้อมกับตั้งชื่อหน่วยใน Q.3 นี้
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้น “นักเรียนรู้อะไรบ้างและอยากเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วยที่จะเรียน
?
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน
Q.3
ใช้
นักเรียนเขียนชื่อหน่วยพร้อมวาดวาดภาพประกอบตกแต่งให้สวยงาม
วันศุกร์ 1 ชั่วโมง
ชง ครูกระตุ้นคำถาม “นักเรียนได้เรียนอะไรบ้างในสัปดาห์ที่ 2
เชื่อม
-
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
- นำเสนอชิ้นงานเป็นคู่
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับพืชผักที่เก็บมา และอาหารที่ทำจากพืชผักทั้งหมด
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้
- พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- นำเสนอชิ้นงาน เป็นคู่
ชิ้นงาน
- รูปภาพพร้อมชื่อของผักที่เก็บภายในโรงเรียน
- สรุปการทำอาหารจากผักในโรงเรียน
- เขียนชื่อหน่วยพร้อมตกแต่งรูปภาพเกี่ยวกับหน่วย

ความรู้
สามารถแสดงความเข้าใจอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้แล้วและสิ่งอยากเรียนรู้โดยให้เหตุผลตามความเข้าใจของตนเองได้
ทักษะ:
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ตามหน้าที่ที่รับผิดชอบได้
- สมารถอธิบายลักษณะ กลิ่น และรสชาติ จากผักที่เก็บมาจากการสังเกตและลองชิมได้
- สามารถคิดเมนูอาหารโดยใช้พืชผักทั้งหมดที่เก็บมา
- สามารถอธิบายความเข้าใจของตนเอง และสื่อสารให้ครูและเพื่อนเข้าใจได้เกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- มีความสุขกับการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี
เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 2 นักเรียนได้เดินสำรวจบริเวณรอบๆบ้านพี่มัธยม และโรงอาหารโดยแยกออกเป็น 2กลุ่ม เพื่อไปเก็บผักที่ตนเองรู้จัก และคิดว่ากินได้มารวมกัน ครูให้นักเรียนใช้ประสาทสัมผัสทางกาย บอกลักษณะของผักจากการดูและสัมผัสด้วยมือ ดมกลิ่น และทดลองชิมรสชาติของผักพร้อมบอกชื่อผัก จากนั้นนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าเราสามารถนำผักเหล่านี้มาทำอาหาร 1 เมนูจากทำเป็นอะไรได้บ้าง ครูและนักเรียนร่วมกันทำส้มพร้อมชิมรสชาติ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องที่เด็กๆอยากเรียนรู้ใน Q3 โดยการร่วมกันแสดงความคิดเห็น ซึ่งมีนักเรียนมีสิ่งที่อยากเรียนรู้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือเรื่องอาหาร และเรื่องของเล่น แต่ทุกคนก็สามารถพูดคุยและตกลงกันได้ว่าใน Q.3 จะเรียนรู้เรื่องอาหาร และQ.4จ ะเรียนรู้เรื่องของเล่น ดังนั้นนักเรียนจึงร่วมกันตั้งชื่อหน่วยใน Q.3/58 ว่า “กินเป็น อยู่เป็น”
    วันต่อครูเล่านิทานเกี่ยวกับอาหาร จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้ พี่ อ. 2 สามารถบอกได้ตามความเข้าใจของตนเอง เช่น “ร่างกายต้องการอาหารที่มีประโยชน์” “ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว” “ร่างกายต้องการอาหารให้ครบ 5 หมู่”
    จากนั้นพี่ๆ อ.2 ได้ช่วยกันตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ เช่น “อาหารมีประโยชน์อย่างไร” “เราจะเลือกอาหารที่ปลอดภัยอย่างไร” “โปรตีนมีประโยชน์อย่างไรใน” แล้วทำลงเป็นชิ้นงานเพื่อไปซ้อมนำเสนอที่บ้าน ในวันศุกร์พี่ๆ อ.2 ได้นำเสนอชิ้นงานของตนเองร่วมกับเพื่อนๆ ซึ่งรอบนี้พี่ๆทุกคนมีความมั่นใจมากค่ะ

    ตอบลบ