เป้าหมาย (Understanding Goal) : นักเรียนเข้าใจ และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง พร้อมทั้งประกอบอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเพื่อรับประทานเองได้

week5


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอธิบายพืชผักที่เก็บมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทางกาย และทำอาหารจากพืชได้หลากหลายเมนูโดยวัตถุดิบที่มีทั้งหมด
Week5
Input
Process
Output
Outcome

โจทย์ :
อาหารจากพืช
Key  Questions :
- จากพืชผักที่นักเรียนเลือกเก็บมามีชื่อว่าอะไร /มีลักษณะอย่างไร /เก็บมาจากที่ไหน /มีกลิ่นอย่างไร /รสชาติเป็นอย่างไร/เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
- นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร 1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง? (ผักบุ้ง ผักกรูด บวบ ฝักทอง โสม )
- นักเรียนคิดว่ายังมีส่วนผสมอะไรอีกที่ใช้ในการทำอาหารของตนเอง?
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำอาหารของนักเรียนมีอะไรบ้าง/ใครจะช่วยเตรียมได้บ้าง
?
เครื่องมือคิด :
- Brainstorms เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำวัตถุดิบที่มี
-
Show and Share ชิ้นงานทั้งหมดในสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- พืชผักภายในโรงเรียน
- บริเวณภายในโรงเรียน
- อุปกรณ์ทำอาหาร

















วันจันทร์ 1 ชั่งโมง
ชง
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจบริเวณรอบๆครัวใหญ่ของโรงเรียน เพื่อสำรวจพืชผักที่จะนำกลับมาทำเป็นอาหาร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "พืชผักต่างๆเหล่านี้นำมาทำอาหารอะไรได้บ้าง"
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักต่างๆมาทำเป็นอาหาร
- ครูพานักเรียนเลือกเก็บผักที่ต้องการ
(ผักบุ้ง ผักกรูด บวบ ฝักทอง โสม )
- ครูและนักเรียนช่วยกันล้างทำความสะอาดพืชผักที่เก็บมาจากครัวใหญ่
วันอังคาร 1 ชั่วโมง

ชง
ครูตั้งคำถามจากสิ่งที่เก็บมา “จากพืชผักที่นักเรียนเลือกเก็บมามีชื่อว่าอะไร /มีลักษณะอย่างไร /เก็บมาจากที่ไหน /มีกลิ่นอย่างไร /รสชาติเป็นอย่างไร/เหมือนหรือต่างกันอย่างไร”


เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสทางกาย จากการมอง ดมกลิ่น สัมผัส และชิมรสชาติ ของพืชผักที่เก็บมาทั้งหมด
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร
1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกับเมนูอาหารที่สามารถรวมพืชผักทั้งหมดมาทำเป็นอาหาร 1 อย่างได้
ใช้
- นักเรียนวาดภาพและเขียนชื่อของพืชผักที่เก็บมาลงในสมุด
- นักเรียนกลับไปสอบถามคุณแม่หรือผู้ปกครองที่บ้านว่าผักทั้งหมดสามารถนำมาทำอาหาร 1 อย่างแล้วจะทำอะไรได้บ้าง

วันพุธ
1 ชั่งโมง
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะนำผักทุกอย่างที่เราเก็บมาทำเป็นอาหาร 1 อย่าง แล้วจะทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักทั้งหมดไปทำอาหาร 1 อย่างร่วมกัน เพื่อจะทำอาหาร โดยแบ่งอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมาในวันพฤหัสบดี
ใช้
นักเรียนเขียนอุปกรณ์ที่ต้องรับผิดชอบนำมาในวันพุธลงในสมุดของตนเอง เพื่อเตรียมเป็นการบ้าน
วันพฤหัสดี 1 ชั่วโมง
ชง
ครูและนักเรียนร่วมกันทำอาหารจากผักที่มีอยู่และ วัตถุดิบที่เตรียมมาเพิ่มเติมเป็น 4 กลุ่มๆละ 5 คน
เชื่อม
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับอาหารที่ทำขึ้นทั้ง 4 กลุ่ม กลิ่น รสชาติ และส่วนผสม
ใช้
นักเรียนเขียนสรุปการทำอาหารเป็นกลุ่ม
วันศุกร์ 1 ชั่วโมง
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ในสัปดาห์ที่ 5 นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง / เรียนรู้อย่างไร
เชื่อม
-
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
- นำเสนอชิ้นงานเป็นกลุ่ม
ภาระงาน
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการนำผักต่างๆมาทำเป็นอาหาร
-
ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ประสาทสัมผัสทางกาย จากการมอง ดมกลิ่น สัมผัส และชิมรสชาติ ของพืชผักที่เก็บมาทั้งหมด
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกับเมนูอาหารที่สามารถรวมพืชผักทั้งหมดมาทำเป็นอาหาร
1 อย่างได้
- ประกอบอาหารจากวัตถุดิบที่เก็บมาเป็นกลุ่ม
ชิ้นงาน
- วาดภาพและเขียนชื่อพืชผักที่เก็บมาจากครัวใหญ่
- สรุปการทำอาหารเมนูจากพืช
ความรู้
นักเรียนสามารถอธิบายพืชผักที่เก็บมาโดยใช้ประสาทสัมผัสทางกาย และทำอาหารจากสัตว์ได้หลากหลายเมนูโดยวัตถุดิบที่มีทั้งหมดได้
ทักษะ
:
- สมารถทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยรู้หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบของตนเอง
- สามารถออกแบบและวางแผนเมนูง่ายๆจากวัตถุดิบที่มี             
- สามารถนำเสนอชิ้นงานให้ครู และเพื่อนๆเข้าใจได้
- มีความสุขกับการเรียนรู้
- สามารถใช้ประสาทสัมผัสทางกายบอกลักษณะ สี กลิ่น รสชาติ ของพืชผักที่เรียนรู้ได้
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆมีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี
เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน










































1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ ครูและนักเรียนร่วมกันเก็บผักที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ โดยครูให้โจทย์ไปว่า ให้นักเรียนเก็บ ผักแปะตำปึง/ผักโสม/ผักบุ้ง/ใบแมงลัก ขณะที่ได้ไปเก็บนักเรียนก็สงสัยใบโหระพากับใบแมงลักอันไหนคือใบแมงลักจริงๆ นักเรียนจึงได้นำผักทั้งสองอย่างนี้ไปสอบถามคุณลุงที่ดูแลต้นไม้ว่าคืออันไหนพร้อมให้นักเรียนเปรียบเทียบลักษณะ /สี/ กลิ่น/รสชาติว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เมื่อเก็บผักมาแล้วครูและนักเรียนร่วมกันล้างผักที่เก็บมาพร้อมเก็บใส่ตู้เย็น หลังจากนั้นครูนำผักที่นักเรียนได้เก็บมาเรียนรู้โดยให้นักเรียนสังเกต สัมผัส ชิมรสชาติผัก พร้อมบอกชื่อผักที่ชิม ครูพานักเรียนสะกดคำเขียนชื่อผักพร้อมวาดภาพประกอบ แล้วทำชิ้นงานลงในกระดาษ A4 เพื่อนำไปสอบถามผู้ปกครองว่าผักเหล่านี้สามารถนำมาทำเมนูอาหารอะไรได้บ้าง จากที่ได้ไปสอบถามผู้ปกครองที่บ้าน ครูและนักเรียนจึงร่วมกันแสดงความคิดเห็นนำเสนอเมนูอาหาร นักเรียนจะเลือกทำเมนูอาหารจากเสียงส่วนใหญ่ โดยเมนูอาหารนั้นต้องมีผักที่นักเรียนได้ไปเก็บมา สำหรับอาหารในสัปดาห์นี้มี 3 เมนูคือ ผัดผักบุ้ง ผัดเห็ดใส่ใบแมงลัก และผักชุบแป้งทอด พร้อมออกแบบและวางแผนการจัดเตรียมอุปกรณ์ร่วมกัน
    ในชั่วโมงต่อมาวันพฤหัสบดี ครูและนักเรียนได้สร้างข้อตกลงร่วมกันก่อนทำอาหาร สัปดาห์นี้ผู้ปกครองอาสาที่มาช่วยแนะนำและดูแลนักเรียน คือ แม่พี่ฟอร์ด ครูใช้คำถามกระตุ้นจากสื่อต่างๆ เช่น “เห็นอะไร/ มีลักษณะอย่างไร/ มีอะไรบ้าง” หลังจากนั้นนักเรียนได้ลงมือทำโดยนำผักของกลุ่มตัวเองไปล้างให้สะอาด นำมาหั่นเป็นชิ้น แล้วลงมือตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ เมื่อทำอาหารเสร็จเรียบร้อยทุกคนร่วมกันชิมรสชาติอาหารที่ทำ พร้อมอธิบายรสชาติเป็นอย่างไร เช่น “มีรสเค็ม เพราะใส่อะไรลงไป /จืด เพราะใส่อะไรหรือขาดอะไร”
    ในวันศุกร์นักเรียนแต่ละกลุ่มก็จะนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการทำอาหารให้เพื่อนฟัง เช่น มีอุปกรณ์อะไรบ้าง มีขั้นตอนทำอย่างไร รสชาติเป็นอย่างไร /เพราะอะไร นักเรียนสามารถแบ่งหน้าที่การนำเสนองานได้ดีมากค่ะ





    ตอบลบ